โคลงสี่สุภาพ
โคลงสี่สุภาพ
โคลงสี่สุภาพ เป็นโคลงชนิดหนึ่งที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด ด้วยเสน่ห์ของการบังคับวรรณยุกต์เอกโทอันเป็นมรดกของภาษาไทยที่ลงตัวที่สุด คำว่า สุภาพ หรือ เสาวภาพ หมายถึงคำที่มิได้มีรูปวรรณยุกต์
โคลงสี่สุภาพ ปรากฏในวรรณกรรมไทย ตั้งแต่สมัยต้นอยุธยา ปรากฏในมหาชาติคำหลวงเป็นเรื่องแรก และมีวรรณกรรมที่แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ ๓ เรื่อง ได้แก่ โคลงนิราศหริภุญชัย โคลงมังทราตีเชียงใหม่ และลิลิตพระลอ
สมัยอยุธยาตอนกลาง วรรณกรรมที่ใช้โคลงสี่สุภาพ ได้แก่ โครงเรื่องพาลีสอนน้อง โคลงทศรถสอนพระราม และโคลงราชสวัสดิ์ พระราชนิพนธ์สมเด็จพระนายรายณ์มหาราช โคลงเฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์มหาราช โคลงนิราศนครสวรรค์ กาพย์ห่อโคลงและโคลงอักษรสามของพระศรีมโหสถ
สมัยอยุธยาตอนปลาย ได้แก่ โคลงนิราศพระบาท โคลงนิราศเจ้าฟ้าอภัย และกาพย์ห่อโคลงพระราชนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร
สมัยธนบุรี ได้แก่ โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี และลิลิตเพชรมงกุฎ
สมัยรัตนโกสินทร์ วรรณกรรมที่ใช้โคลงสี่สุภาพที่เด่น ๆ ได้แก่ ลิลิตตะเลงพ่าย
โคลงนิราศนรินทร์ โคลงนิราศสุพรรณ โคลงโลกนิติ สามกรุง
โคลงสี่สุภาพเป็นคำประพันธ์ที่กวีชอบแต่งและผ่านการพัฒนามายาวนานจนมีฉันทลักษณ์ที่ลงตัวและเป็นแบบฉบับดังที่ยึดถือกันในปัจจุบัน
ลักษณะบังคับ
๐ ๐ ๐ เอก โท ๐ x (๐ ๐)
๐ เอก ๐ ๐ x เอก โท
๐ ๐ เอก ๐ x ๐ เอก (๐ ๐)
๐ เอก ๐ ๐ โท เอก โท ๐ ๐
หนึ่งบทมี ๔ บาท แต่ละบาท มี ๒ วรรค ดังนี้
วรรคหน้า มี ๕ คำ วรรคหลัง 2 คำ
ยกเว้นบาทที่ ๔ วรรคหลังจะมี ๔ คำ
สรุปรวม ๑ บทประกอบด้วย ๓๐ คำ
มีคำสร้อยได้ในบาทที่ ๑ บาทที่ ๓ (คำสร้อย คือ คำที่แต่งเติมต่อท้ายบาท เพื่อทำให้ได้ใจความครบถ้วน ถ้าโคลงบาทใดได้ความครบถ้วนแล้วก็ไม่จำเป็นต้องเติมคำสร้อย)
กฎการสัมผัส คำสุดท้ายของบาทที่ ๑ ต้องสัมผัสกับ คำที่ ๕ ของบาทที่ ๒ และบาทที่ ๓ คำสุดท้ายของบาทที่ ๒ ต้องสัมผัสกับ คำที่ ๕ ของบาทที่ ๔
บังคับตำแหน่งวรรณยุกต์ เอก ๗ แห่ง โท ๔ แห่ง
สื่อการสอน เรื่อง โคลงสี่สุภาพ
ผลงานนักเรียนในการจัดกิจกรรการเรียนรู้ เรื่อง การแต่งโคลงสี่สุภาพ
ผลงานนักเรียนในการจัดกิจกรรมวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2567
ประกวดการแต่งโคลงสี่สุภาพ
เรื่อง การเขียนแสดงความคิดเห็น
บัญชีคำพื้นฐาน